top of page

‘ประเทศไทย’ กับเป้าหมายลดโลกร้อนด้วย ESG

แม้ประเทศไทยจะเป็นประเทศขนาดกลางๆ แต่ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด


อาทิ การสนับสนุนอย่างมากคือ การผลิตไฟฟ้าที่ปัจจุบันส่งเสริมให้มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น เนื่องจากเป็นพลังงานที่ไม่สร้างคาร์บอนให้กับธรรมชาติ ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมากระแสการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น นอกจากนี้ที่เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นคือ การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า(EV) ด้วยการลดภาษีเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้รถที่ลดมลพิษมากขึ้น

รวมถึงการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อลดภาวะโลกร้อนและรองรับกฎกติกาใหม่ในการค้าโลกที่เข้มงวดเรื่องการส่งสินค้าไปขายในตลาดโลกมากขึ้น จากความกังวลเรื่องภาวะโลกร้อน ทำให้เวทีระดับโลกกำหนดทิศทางใหม่หลายเรื่อง เช่น European Green Deal ผลกระทบจากการเก็บภาษีคาร์บอน Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสินค้าที่ยั่งยืน (Sustainability Product Initiative) ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและความรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทาน


และทุกเรื่องที่กล่าวมานี้ ภาคธุรกิจรวมถึงผู้ประกอบการและ SME ต้องเข้ามามีบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์การทำธุรกิจให้เอื้อต่อการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถ้าทำได้ย่อมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน


SME ไทย ต้องเร่งปรับตัวสู่ Net-Zero เช่นกัน


นอกจากองค์กรขนาดใหญ่ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงแล้ว ธุรกิจขนาดย่อมอย่าง SME ก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อย เนื่องจากมีจำนวนกว่า 97% ของระบบเศรษฐกิจที่ปล่อยมลพิษกว่า 25% จากทั้งประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียง 1 ใน 4 ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่าธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นส่วนสำคัญในการไปสู่เป้าหมาย Net Zero ของไทย ซึ่ง SME ไทยมีจำนวนมากถึง 99% ในระบบเศรษฐกิจ หากไม่ให้ความร่วมมือ ไทยอาจจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ตามที่ตั้งเป้าไว้ได้ ผู้ประกอบการ SME จึงควรตระหนักถึงปัญหาสำคัญนี้และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาไปด้วยกัน

อีกทั้งเรื่องความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลังจากเกิดกระแสรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมมากมาย ยังช่วยเพิ่มข้อได้เปรียบให้แก่ธุรกิจที่ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่ยั่งยืน มากกว่า รวมถึงเพิ่มโอกาสในการส่งออก ซึ่งในอนาคตจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ Net-zero มาเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของบางประเทศหรือทั่วโลกด้วย


ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญของ SME ในการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ Net-zero มีหลากหลายประการ แต่ส่วนใหญ่ที่มักจะพบเจอก็คือ การขาดความตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร พอไม่มีความรู้หรือความชำนาญมากพอ ทำให้การปรับตัวต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้น



แนวทางปรับตัวภาคธุรกิจ SME ไทย สู่เศรษฐกิจสีเขียวแนวทางสู่ Sustainability


อย่างไรก็ตามสำหรับ SME ไทย การปรับตัวที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด คือการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการผลิตไฟฟ้าใช้เองจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงที่ติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เป็นต้น

ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นโอกาสในการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SME ไทย หากเปลี่ยนธุรกิจโมเดลให้สอดคล้องกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป้าหมายความยั่งยืน เปลี่ยนวิธีการจัดการธุรกิจของตนเอง และมองหาธุรกิจร่วมกับต่างชาติ แต่หากภาคธุรกิจไม่ปรับตัวเอง เชื่อว่าอนาคตราคาต้นทุนในการจัดการ อาจเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จะทำให้เสียทั้งโอกาสและมีต้นทุนที่สูงขึ้นในอนาคต


ที่มา: www.bangkokbanksme.com

Commentaires


bottom of page