top of page

จุดยืนนานาประเทศ กับแนวทางพิชิต Net Zero สู่การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสีเขียวด้วยแนวคิด ESG

หลายประเทศทั่วโลกกำลังหันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีแผนงานที่ชัดเจนและมีเป้าหมายไปในแนวทางเดียวกัน


สิ่งที่ได้ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ การปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายของการดำเนินงานเพื่อที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของทั่วโลกครั้งนี้ แต่ละประเทศจะต้องมีแผนงานที่จำกัดการปล่อยคาร์บอน โดยมีเป้าหมายให้ไปถึง 0% (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ในอนาคต จะใกล้หรือไกลก็ตามแล้วแต่ความชัดเจนของประเทศนั้นๆ รวมถึงการหันมาใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น เพื่อจัดการกับภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมตามกรอบอนุสัญญานี้ด้วย

ESG จึงกลายเป็นเทรนด์ระดับโลกที่ทุกธุรกิจต้องจับตามอง เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงทั่วโลกถึงจุดที่ Climate Change ยกระดับสู่ Climate Crisis สร้างกระแสความกดดันให้ธุรกิจทั่วโลกต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ และผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


จุดยืนนานาประเทศ กับแนวทางการพิชิต Net Zero


นปีนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับผลกระทบจากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมากขึ้น อันเนื่องมาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน


จากข้อมูล Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) พบสัญญาณที่ชี้ว่า โลกร้อนขึ้นกว่า 1.09 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดในรอบ 2 ล้านปี การเกิดไฟป่าในออสเตรเลีย และระดับน้ำทะเลสูงกว่าในอดีตถึง 3 เท่า โดย IPCC คาดว่าระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้น 2 เมตรในศตวรรษนี้ และอาจสูงถึง 5 เมตรภายในปี 2150 หรือเพิ่มขึ้น 3.7 มิลลิเมตรต่อปี

ที่ผ่านมา ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน นับเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก ได้ให้คำมั่นว่าจะร่วมแก้ปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมโลก โดยตั้งเป้าไว้ภายในปี 2060 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำจีนประกาศชัดร่วมผลักดันเป้าหมายของความตกลงปารีสในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก

นอกจากนี้ จีนยังให้คำมั่นระงับให้งบประมาณโครงการถ่านหินในต่างประเทศ และเริ่มลดการใช้ถ่านหินของตนในปี 2026


ขณะที่สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศมหาอำนาจอีกหนึ่งประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนใหญ่อันดับ 2 ของโลก แต่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าประเทศใดๆ นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อสหรัฐฯ ให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50 - 52% จากระดับปี 2005 ภายในปี 2030


ขณะที่ สหราชอาณาจักร ถือเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G-7) ที่ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมในประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดโลกร้อน โดยแสดงจุดยืนสำคัญ ด้วยการตั้งเป้าจะยุติการผลิต และจำหน่าย รวมถึงนำเข้ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป และผลักดันบังคับใช้กฎหมายที่จะทำให้สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050 ส่งผลให้กระแส Net Zero ได้รับความสนใจมากขึ้น


ทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ 2 ในกลุ่ม G-7 ที่ออกมาร่วมแสดงจุดยืนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายนี้ โดยตั้งเป้าจะเป็นประเทศที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 เช่นกัน โดยเริ่มจากการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง 30 - 40% ภายในปี 2030



ขณะที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นประเทศที่ถือได้ว่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงมากอันดับต้นๆ ก็ประกาศจุดยืนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยจะลดการพึ่งพาการใช้พลังงานฟอสซิลและพลังงานจากถ่านหินลง แล้วเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น


อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ Climate Change Performance Index (CCPI) พบว่าเรื่องการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังไม่มีประเทศไหนทำได้ดี ซึ่งทาง UN ได้ออกมาเรียกร้องให้ทบทวนเป้าหมาย เพราะถ้าทุกคนทำตามเป้าที่ตั้งไว้อาจไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจากการวัดประเมิน 60 ประเทศทั่วโลก ชี้ว่าไม่มีประเทศไหนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในอันดับ 1,2 หรือ 3 ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 31 ต้องปรับตัวและทำอีกมาก โดยสามารถนำนโยบาย หรือแผนของธุรกิจบางประเทศที่ทำได้ดีนำมาปรับใช้


ที่มา: www.bangkokbanksme.com

コメント


bottom of page